วันอาทิตย์ที่ 11 มีนาคม พ.ศ. 2555

บันทึกการเรียนครั้งที่ 15

-วันนี้อาจารย์ได้ให้นักศึกษาส่งงานที่มอบหมายสัปดาห์ที่แล้ว คือ Big   Book  และบัตรคำ   อาจารย์ได้ตรวจของนักศึกษาทุกกลุ่มโดยกลุ่มข้าพเจ้าต้องแก้ไขงาน  และกลุ่มไหนที่ได้แก้ไขอาจารย์ให้แก้ไขในห้องเรียนถ้าวันนี้แก้ไขไม่เสร็จ ให้ส่งภายในวันพรุ่งนี้ก่อนบ่าย 3 โมง

วันเสาร์ที่ 10 มีนาคม พ.ศ. 2555

บันทึกการเรียนครั้งที่ 14

 วันพฤหัสบดี ที่ 1 มีนาคม 2555

         -วันนี้อาจารย์ได้ให้นักศึกษานำเสนอผลงานของกลุ่มที่ยังไม่ได้นำเสนอและอาจารย์ได้ให้คำแนะนำ ในการรายงานหรือนำเสนอผลงาน  และอาจารย์ได้มอบหมายงาน คือ ให้นำกระดาษที่อาจารย์แจกให้ในแต่ละกลุ่มไปทำหนังสือ Big  Book ในหัวข้อมันคืออะไร   และบัตรคำ  ให้นักศึกษาส่งในสัปดาห์ถัดไป

 
อาจารย์ให้คำแนะนำหนังสือ Big Book

วันพฤหัสบดีที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2555

บันทึกการเรียนครั้งที่ 13

วันที่ 23 เดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555
  
         - อาจารย์ให้นำเสนองาน ที่ไปทำกิจกรรมกับน้อง โดยให้น้องตัดแปะรูปภาพ ในหัวข้อเรื่อง เธอชอบกินอะไร



ข้อเสนอแนะของอาจารย์   
         - หน้าปกตัวหนังสือต้องใหญ่กว่านี้ และในหน้าปกจะต้องมีรูปภาพด้วย
         -ควรจะทำร่วมกับน้องไม่ควรทำเป็นตัวอย่าง
         -คำว่า KFC ไม่ใช่แค่ไก่ทอด  เพราะ  KFC นั้นมีหลายอย่าง  เช่น แป๊บซี่
         -ต้องหาอาหารหลายๆอย่างให้น้องเลือกมากกว่านี้  หรือวางสิ่งอื่นให้เด็กดูความแตกต่าง
         -อาจารย์ยกตัวอย่าง   "อะไรเอ๋ย"   ให้ดู รุปแบบการทำว่าจะต้องทำอย่างไรบ้าง
         -อาจารยืยกตัวอย่างการเขียน  ก - ฮ  ให้ดู  ว่าจะต้องเขียนหัวกลม  หัวเหลี่ยมอย่างไร

บันทึกการเรียนครั้งที่ 12

วันที่18  กุมภาพันธ์  พ.ศ.2555
         
         - อาจารย์ให้วาดรูปคนละ 1 รูป แล้วเชื่อมโยงให้เป็นเรื่องราวเดียวกันให้ได้





         - อาจารย์ห้วาดรูปแทนคำพูดให้เป็นประโยคหรือข้อความ แล้วให้เพื่อนทายว่าคืออะไร



        - อาจารย์ให้เขียนพยัญชนะไทยและอาจารย์แบ่งกลุ่มให้กลุ่มดิฉัน 9 คนโดยให้กลุ่มดิฉันทำเกี่ยวกับอักษรกลางโดยดิฉันได้เขียนตัว "ป" และอาจารย์ให้แต่ละกลุ่มเขียนพยัญชนะที่อยู่ข้างหน้าว่ามีอะไรบ้างโดยกลุ่ม ของดินฉันได้เขียน  "เ"  และ "แ"


         - อาจารย์ให้บอกชื่อของตัวเองพร้อมทำท่าทางประกอบ แล้วให้เพื่อนคนต่อไปทำท่าของเพื่อนแล้วจึงทำท่าของตัวเอง
       - อาจารย์ทบทวนเรื่องของลักษณะของภาษา เนื่อหาของภาษาและรูปแบบของภาษา

บันทึกการเรียนครั้งที่ 11

วันที่ 16  กุมภาพันธ์ พ.ศ.2555
        
       - อาจารย์ได้พูดถึงเรื่องงานกีฬาสีและได้สอนในเรื่องของการทำหนังสือภาพคือ

      เลือกความคิดรวบยอดที่ต้องการให้เด็กมีประสบการณ์ เช่น อะไรเป็นเครื่องใช้ไฟฟ้า  เราก็จะหารูปภาพที่เป็นเครื่องใช้ไฟฟ้าแปะลงบนกระดาษที่เตรียมไว้และถ้าเรา ใช้เครื่องใช้ไฟฟ้าไม่ระมัดระวังจะเกิดอะไรขึ้นเราก็จะให้เด็กตอบ ในการทำกิจกรรมนี้เราก็จะสังเกตเด็ก บันทึกสิ่งที่เกิดขึ้นจากเด็กว่าเด็กให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมต้องมีสมร รมหรือเปล่า

        - อาจารย์ได้พูดถึงการทำกิจกรรมการอยู่ร่วมกันในสังคม
        - อาจารย์ได้พูดถึงการแต่งการและก็การพูดจากับผู้ใหญ่
        - อาจารย์ได้พูดถึงเรื่อง blogger ว่าจะต้องมีสมาชิกครบ พร้อมทั้งลง VDO และรูปกิจกรรมที่ถ่ายทั้งหมด

บันทึกการเรียนครั้งที่ 10

วันที่ 9  กุมภาพันธ์   พ.ศ.2555

        - วันนี้ไม่มีการเรียนการสอนเนื่องจากอาจารย์ติดประชุม

วันเสาร์ที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

บันทึกการเรียนครั้งที่ 9

วัน พฤหัสบดี ที่ 2 เดือน กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

-วันนี้อาจารย์ได้พูดถึงการจัดประสบการณ์ทางภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย

ว่าควรมีหลักการอย่างไร และได้เปิดนิทานแบบ E-Book ให้นักศึกษาดู  เรื่องแม่ไก่สีแดงพร้อมวิเคราะห์ร่วมกัน

อธิบายถึงการฟังของเด็กและองค์ประกอบของภาษา

          เด็กเรียนการฟังและการพูดโดยไม่ต้องอาศัยการสอนอย่างเป็นทางการ การที่เด็กได้มีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมทางภาษาจะทำให้เด็กเข้าใจและใช้ ไวยากรณ์พื้นฐานของภาษาแม่เมื่ออายุได้ถึงสี่หรือห้าปี
          
          องค์ประกอบของภาษา ประกอบไปด้วย
           เสียง                  การอ่าน สัญลักษณ์การอ่าน       ระบบเสียง ตัวอักษร
          ไวยากรณ์          คำ ประโยค
           ความหมาย       คำศัพท์ ประโยคข้อความ เช่น ประโยคบอกเล่า ประโยคคำสัั่่ง

           ภาษาประกอบด้วย  การจัดประสบการณ์ พัฒนาการ วิธีการเรียนรู้ แนวทางการจัดประสบการณ์ การจัดประสบการณ์โดยมีผู้ปกครองมีส่วนร่วม สภาพแวดล้อมที่ส่งเสริม นวัตกรรมทางภาษา เด็กปฐมวัย   พัฒนาการ สติปัญญา  วิธีการเรียน สมรรถณะทางภาษาและอาจารย์ได้พูดถึง

       คำกล่าวทักทายอาเซียน 10 ประเทศ


บรูไน
ซาลามัต ดาตัง
อินโดนีเซีย
ซาลามัต เซียง
มาเลเซีย
ซาลามัต ดาตัง
ฟิลิปปินส์
กูมุสตา
สิงคโปร์
หนีห่าว
ไทย
สวัสดี
กัมพูชา
ซัวสเด
ลาว
สะบายดี
พม่า
มิงกาลาบา
เวียดนาม
ซินจ่าว



เพลง  Hello

Hello   Hello                     Hello     how  are   you ?
I'm   find     I'm   find        I   hope    that    you    too.

บันทึกการเรียนครั้งที่ 8

วัน พฤหัสบดี ที่ 26 เดือน มกราคม พ.ศ. 2555
    
      -  ในวันนี้อาจารย์ได้ตกลงเรื่องการแต่งกายมาเรียน   โดยที่อาจารย์ได้พูดว่า  "เครื่องแบบไม่ได้ทำให้พัฒนาสมองให้ดีขึ้น  แต่เครื่องแบบเป็นการสท้อนถึงองค์กร
      -  อาจารย์เอารูปที่เด็กวาดด้วยคอมพิวเตอร์มาให้ดู  แล้วให้ดูว่า รูปนี้บอกอะไรกับเราเห็นอะไรบ้าง
                 1.  นึกถึงคำหรือภาษาที่เด็กใช้
                 2.  การวาดภาพเห็นถึงพัฒนาการทางกล้ามเนื้อมือ - ตา เพื่อเตรียมการเรียน
                 3.  ได้เห็นถึงความต้องการของเด็ก  เพื่อให้เชื่อมโยงกับสถานการณ์
                 4.  การเขียนตัวหนังสือ  สามารถเขียนมีหัวได้ถูกต้อง
                 5.  การเขียนชื่อตัวเองได้
                 6.  การสอนเรื่องการลงท้าย ครับ  ค่ะ

รูปเด็กอนุบาล 4 คน กำลังใช้ภาษาสื่อสารกัน
       -  มนุษย์ใช้การสื่อสารระหว่างกันด้วยวิธีการหลายรุปแบบ  วิธีที่มีประสิทธิภาพมากที่สุด  คือ การใช้ภาษาพุดและการเขียน  การพัฒนาทักษะการใช้ภาษาดังกล่าว  จะช่วยให้เด็กเข้าใจและเรียนรู้สิ่งต่างๆ ในสิ่งแวดล้อมได้ดีขึ้น  ตลอดจนการแสดงออกถึงความต้องการส่งและรับข่าวสาร  การแสดงออกถึงความรู้สึกและการเข้าใจผู้อื่น
      -  ฟังและพูด  โดยไม่ต้องอาศัยการสอนอย่างเป็นทางการ  การที่เด็กมีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมทางภาษาจะทำให้เด็กเข้าใจ  และใช้ไวยากรณ์พื้นฐานของภาษาแม่  เมื่ออายุได้ 4 หรือ 5 ปี
      -  สิ่งที่ครูสอนเด็กปฐมวัยจะต้องตระหนัก  และมีความรู้เพื่อนำไปใช้ในการช่วยพัฒนาการทางภาษาของเด็ก  ก็คือ  ความเข้าใจเกี่ยวกับภาษาทั้งในด้านภาษาศาสตร์  ด้านการนำไปใช้  ตลอดจนแนวปฏิบัติในการจัดประสบการณ์ทางภาาาให้แก่เด็ก

บลูและลาเฮย์  ให้ความหมายของภาษา  3  ประการ
         1.  ภาษาเป็นสัญลักษณ์หรือรหัส  "เด็ก กิน ขนม"
         2.  ภาษาเป็นสัญลักษณ์ของมโนมิติเกี่ยวกับโลก หรือ ประมวลประสบการณ์
         3.  ภาษาเป็นระบบ  ภาษาเป็นระบบกฎเกณฑ์ที่ค่อนข้างจะคงที่  เช่น  มีคำที่เป็นประธาน  กริยา  กรรม

กำชัย  ทองหล่อ  " ภาษาแปลตามรูปศัพท์ "
วิจินตน์  ภานุพงษ์  " เสียงที่มีระบบทำให้เราใช้สื่อสารกัน "

สรุป   ภาษา คือ  สัญลักษณ์ที่มนุษย์ในสังคมหนึ่งๆ  สร้างขึ้น  เพื่อใช้เป็นเครื่องมือในการสื่อสารและทำความเข้าใจซึ่งกันและกัน

บันทึกการเรียนครั้งที่ 7

วัน พฤหัสบดี ที่ 22 เดือน มกราคม พ.ศ. 2555
     
       - อาจารย์แนะนำการสมัครโทรทัศน์ครู
       - ดู VDO  จากรายการโทรทัศน์ครู เกี่ยวกับ การจัดประสบการณ์โดยใช้วรรณกรรมเป็นฐาน   "เรื่องหนูน้อยหมวกแดง"

สิ่งที่ได้จากการดู  คือ
        -  ได้รู้จัดการใช้เทคนิกที่ครูใช้  ในการเริ่มเรื่อง เป็นขั้นนำ
        -   ครูจะต้องออกแบบกิจกรรม  ให้สอดคล้องกับนิทาน  เด็กก็จะเรียนรู้อย่างมีความสุข  สิ่งที่สามารถบอกได้ว่าเด็กสนใจนิทานเรื่องใดนั้น  "สามารถสังเกตได้จากการยืม"
        -  ครูจะต้องสงเสริมให้มีกิจกรรมหลัก 6 กิจกรรม
        -  ก่อนที่เด็กจะทำการแสดงละคร  เด็กจะต้องตีความของฉากว่าเป็นอย่างไร  และจะต้องจัดลำดับของเรื่องให้ได้ก่อน
        -  ภาษาและคณิตศาสตร์ เป็นเครื่องมือในการเรียนรู้
        -  บทบาทครูจะต้องสนันสนุนให้เด็กมีส่วนร่วม  เพราะเด็กทุกคนจะคิดว่าตนเองสำคัญ

กิจกรรมเพลงและดนตรี
           เกี่ยวข้องกับการใช้ภาษา คือ  การทำจังหวะ   การฟัง   การออกเสียง  เสียงสั้น - เสียงยาว  โทนเสียง  ( สูง กลาง ต่ำ )
        -  ทำให้เด็กรู้จักจำแนกเรื่องของเสียง
งานที่สั่ง
       -  ให้ไปหาความหมายของคำว่า  อิทธิบาท 4

บันทึกการเรียนครั้งที่ 6

วัน พฤหัสบดี ที่ 12 เดือน มกราคม พ.ศ. 2555
     
      -  นำเสนอ PowerPoint การเล่านิทานให้เด็กฟัง  แล้วถามคำถามกับเด็ก
สิ่งที่อาจารย์แนะนำเกี่ยวกับข้อบกพร่อง แต่ส่วนใหญ่จะดี
         

      - นำเสนอ VDO ที่ไปสัมภาษณ์น้อง
     
 
               ชื่อน้องเอบี อนุบาล 1 จากโรงเรียนอนุบาลสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม

วันอังคารที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2555

บันทึกการเรียนครั้งที่ 5

วัน พฤหัสบดี ที่ 5 เดือน มกราคม  พ.ศ. 2555
  
            -   วันนี้อาจารย์ได้ให้นักศึกษาทำ Powerpoint  เกี่ยวกับนิทานที่นักศึกษาไปเล่าให้เด็กปฐมวัยฟังแล้วนำเสนอสัปดาห์ถัดไป   เนื่องจากอาจารย์จะต้องไปส่งพี่ที่ฝึกงานที่ ลำลูกกา